ชีวประวัติ

พระยาทวาย

มังจันจ่า, (แมงจันจา) พระยาทวาย สวามิภักดิ์

เมื่อวันเสาร์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด จัดวาศกตรงกับพุทธศักราช ๒๓๓๕ เป็นปีที่ ๑๑ ในสมัยรัชการที่ ๑ คณะทูตทวายได้เดินทางมาถึง พร้อมทั้งหวายหนังสือพระยาทวาย ความว่า

“.......แมงจันจา พม่าเจ้าเมือทวาย เป็นบุตรสดุแมงกิงกินเมืองส่วนชื่อเมืองมัคราใบ ตำแหน่งเป็นแม่ทัพใหญ่ให้เป็นที่เนมะโยกะยอดิน เมืองอังวะ ขอกราบบังคมมายังใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานครฯ ศรีอยุธยา

ด้วยแมงจันจาเป็นเชื้อพม่า บิดามารดาปู่ตาแมงจันจาทำราชการมาแต่ครั้งพระอัยกาของพระเจ้าอังวะมาจนถึงแมงจันจา จะได้มีความผิดลักสักครั้งหนึ่งก็หามิได้ พระเจ้าอังวะทุกวันนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมและสังควัตถุ ๔ ประการ ตามพระราชพระเพณีสมเด็จพระบรมมหากษัตราธิราชสืบมาแต่ก่อน กลับความจริงเป็นเท็จกลับความเท็จเป็นจริง ขาดจากความเมตตาและผู้รั้งเมืองผู้ปกครองเมืองปลายด่านทำราชการสู้เสียชีวิตก็ไม่ว่าดี

เมื่อเดือน ๑๑ ปีกุน ตรีศก ตั้งมองละเจสูลงมากิจเมือเมาะตะมะให้บังคับบัญชาชาวเมืองทะวายเมืองมะริด เมืองตะนาว เจ้าเมืองเมาะตะมะให้มาเรียกเอาเงินแก่เจ้าเมืองทวาย เมืองมะริด เมืองตะนาว สองเดือน สามเดือนครั้ง หนึ่งใช้เงินถึง ๒๐๐ ถึง ๓๐๐ ชั่ง อาณาประราษฎร์ได้ความเดือกร้อนนัก แล้วเจ้าเมืองเมาะตะมะแต่งให้มะรุวอนไปจักกายเดิง คุมพม่า ๓๐๐ คน ลงมากินเมืองทวาย จะให้ถอดข้าพระพุทธเจ้าเสีย ข้าพระพุทธเจ้าแต่งให้ปลัดเมืองคุมไพร่พล ๕๐๐ นาย ออกไปพบมะรุวอนไปจักกายเดิง นอกเมืองทางประมาณ ๒๐๐ เส้น จึงกลุ้มรุมฆ่ามะรุนวอนไปจักกายเดิงและไพร่พลตายสิ้น เมืองมะริด เมืองตะนาวรู้ว่าเมืองทวายยอมเข้ามาพึ่งพระราชกฤษฏาเดชานุภาพ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร เมืองมะริด เมืองตะนาวก็ยอมเข้ามาเป็นขอบขัณฑสีมาด้วย จึงได้จัดนางแลต้นไม้ทอง – เงิน นำเข้ามาถวาย และขอรับอาสาตีเมืองเมาะตะมะ เมืองร่างกุ้ง เมืองจิตตอง เมืองพสิม ถวายได้

ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ดำรัสให้จัดการทั้งปวงตามอย่างออกแขกเมืองโดยโบราณราชพระเพณีบรมราชาธิราชเจ้าแต่ปางก่อน โดยทรงเสด็จออก ณ มุขเสด็จพระที่นั่งดุสิตมหาประสาทพร้อมด้วยเสนาบดีมนตรีหมู่มุขอำมาตย์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายทหารแลพลเรือน ประชุมเฝ้า ณ ทิมดาบคด พระยาราชนิกูลกราบบังคมทูลพระกรุณาถวายเครื่องราชบรรณาการแล้ว อ่านศุภอักษรเจ้าเมืองทวายมีเนื้อความในแผ่นทองว่า“....ข้าพระพุทธเจ้าแมงจันจา ขอกรายถวายบังคมมาแทบพระบวรบาทบงกชมาศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรุงเทพมหานครศรีอยุธยา ด้วยข้าพระองค์เดิมเป็นเมืองขึ้นข้าขอบขัณฑสีมา กรุงรัตนบุระอังวะบัดนี้ มีความผิดขัดเคืองกันกับพระเจ้าอังวะจะให้กองทัพพม่ายกมากระทำวิหิงสาการย่ำยีเมืองทวายให้สมณะชีพราหมณ์ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ได้ความเดือดร้อน ข้าพระพุทธเจ้าหาที่พึ่งที่พำนักมิได้ จะขอเอาพระราชกฤษฎาเดชานุภาพระบาทเสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปราสาททองไปปกครองป้องกันเกศสรรพสัตว์นิกรในเมืองทวายให้พ้นภยันตรายแห่งปัจจามิตรขอรับพระราชทานกองทัพออกไปช่วยรักษาเมือง

อนึ่ง ข้าพระองค์ถวายนางอันเป็นประยูรวงศ์เข้ามาเป็นข้าทูลละออกธุลีพระบาทด้วย แล้วจะส่งพระราชภาคิไนย ซึ่งไปตกอยู่เมืองทวายเข้ามาถวายในภายหลัง บัดนี้ ให้พระมหาแทนถือหนังสือของพระราชภาคิไนยเข้ามาถวายด้วยข้าพระพุทธเจ้ากับทั้งกรมการเมืองทวาย เมืองมะริด เมืองตะนาว และอาณาเขตประชาราษฎรทั้ง ๓ เมือง ขอเป็นเมืองขึ้นขอบขัณฑสีมา กรุงเทพมหานครศรีอยุธยาเหมือนดังกาลก่อนสืบไปตราบเท่ากัลปาวสาน

ครั้นอ่านศุภอักษรถวายเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชดำรัสปฏิสันถารปราศรัยด้วยคณะทูตตามขัติยราชพระเพณีแล้วเสด็จขึ้น ต่อมาพระราชทานไตรจีวรเครื่องสมณบริขารและพระราชทานเสื้อผ้าเงินตราเป็นรางวัลแก่ทูตานุทูต โดยทั่วกัน กับทั้งสิ่งของพระราชทานตอบแทนออกไปให้แก่พระยาทวาย โดยสมควรแล้วดำรัสสั่งให้มีตราออกไปถึงพระยาทวายและส่งฑูตานุทูตกับพระมหาแทนกลับไปเมืองทวายก่อน จากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยายมราชเป็นแม่ทัพยกพลออกไปช่วยรักษาเมืองทวาย พร้อมทั้งพระราชทานพานทองเครื่องยศให้พระยายมราชออกไปพระราชทานแก่พระยาทวายด้วย

ลุปีชวด จัดวาศก พุทธศักราช ๒๓๓๕ เป็นปีที่ ๑๑ ในรัชกาลที่ ๑ ณ วันอาทิตย์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ พระยายมราชออกไปถึงเมืองทวาย และคุมพลเข้ารักษาเมืองแล้ว ได้รับพระองค์เจ้าชี (พระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมขุนรามินทรสุดา ซึ่งเป็นพระธิดาของเจ้าขุนรามณรงค์ พระเชษฐาธิบดี ผู้ถึงแก่ชีพิตักษัยไปนานแล้ว ได้พลัดตกอยู่เมืองพม่าและหนีมาบวชเป็นรูปชีอยู่เมืองทวายเพื่อให้พ้นภัยพม่า แล้วให้ตั้งเจ้าเมืองทวายขึ้นใหม่

ครั้งนั้น โปรดรับสั่งให้จัดเรือหลายลำรับแมงจันจาพระยาทวาย พรร๕พวกครอบครัวเดินทางเข้ามายังกรุงเทพทรงโปรดให้ตั้งบ้านเรือนพักอยู่นอกป่าช้าวัดสระเกศก่อน สำหรับพระสงฆ์ทวาย ๑๐รูป ทรงพระราชทานผ้าไตรและสมณบริขารทั่วทุกองค์ทรงโปรดให้ไปพำนัก ณ วัดบางหว้าใหญ่ร่วมด้วยพระมหาแทน ส่วนหนึ่งพำนัก ณ วัดสระเกศ ส่วนพวกพระยาทวายก็คัดไว้เป็นช่างต่อเรือบ้าง ที่เหลือนอกนั้นก็ทรงโปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบลคอกกระบือ กับพระยาทวายแมงจันจาทรงโปรดชุบเลี้ยงให้เป็นนายบ้านดูแลพวกทวายและให้เป็นขุนนางทำรายการรับใช้สนองใต้ฝ่าละออกธุลีพระบาท