ชีวประวัติ

ศาสตราจารย์ ดร.อมร รักษาสัตย์

ศาสตราจารย์ ดร.อมร รักษาสัตย์ (อดีตประธานสภาวัฒนธรรมเขตสาทร)

ศาสตราจารย์ ดร.อมร รักษาสัตย์ ได้รับเลือกเป็นประธานสภาวัฒนธรรมเขตสาทรเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ และดำรงตำแหน่งนี้ติดต่อกันหลายสมัยท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๘ เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพและท่านได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๘ ท่านเป็นปูชนียบุคคลที่ได้รับการยกย่องจากสังคมวงการต่างๆ เช่น เป็นนักการศึกษา นักกฎหมายมหาชน และเป็นผู้เชี่ยวชาญอีกหลายสาขาจะเห็นได้จากงานที่ทำและตำแหน่งที่ท่านเคยได้รับผิดชอบ เช่น

ด้านวิชาการ ท่านเป็นนักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ชั้นนำ มีชื่อเสียงโดดเด่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสดาจารย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษระดับ ๑๑ และราชบัณฑิตและเกียรติคุณอื่นๆ จากต่างประเทศ ท่านได้เขียนหนังสือทางวิชาการไว้จำนวนมากถึง ๗๔ เล่ม เช่น ทฤษฎีและแนวคิดในการพัฒนาประเทศ, การบริหารงานโครงการพัฒนาประเทศ, การใช้ทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม : การต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของชาติ, อนาคตของชาติไทย :การก้าวไปสู่ความเป็นธรรมทางสังคมของมวลชน, ตุลาการเสียงข้างน้อย: แพ้แต่ไม่ผิดเป็นต้นบทความภาษาไทยจำนวน ๕๐๐ เรื่อง แนวคำบรรยายภาษาไทย ๒๗๐ เรื่อง หนังสือและผลงานภาษาอังกฤษ ๑๗ เล่ม บทความภาษาอังกฤษ ๗๐ เรื่อง แนวคำบรรยายภาษาอังกฤษ ๔๕ เรื่อง

ด้านสร้างสถาบัน ท่านเป็นผู้หนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) และปูพื้นฐานที่มั่นคงจนเจริญก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ท่านเคยดำรงตำแหน่งเกือบทุกตำแหน่ง เช่น ผู้อำนวยการสำนักวิจัย คณะบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ อธิการบดี รวมตลอดจนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาสถาบัน

ด้านนิติบัญญัติ ท่านเคยดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพ.ศ. ๒๕๔๐

ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นที่ปรึกษารัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นกรรมการปฏิรูประบบราชการหลายยุคหลายสมัย

ด้านตุลาการ ท่านได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ด้านศาสนา ท่านเป็นผู้รอบรู้ในเรื่องศาสนา และเป็นนักปฏิบัติธรรมที่เคร่งครัด ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าเมื่อท่านติดปัญหาธรรมข้อใด ท่านก็จะนั่งสมาธิ จิตเพ่งไปที่พระพุทธรูป ปุจฉา วิสัชนา ความเข้าใจก็จะปรากฏแก่จิตของท่าน หรือไม่ท่านก็จะเดินทางไปสนทนาธรรมกับพระสงฆ์ที่ทรงคุณ ตรวจสอบความเข้าใจของตนและงานบำรุงพระศาสนาท่านปฏิบัติเป็นประจำ ร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้วิกฤติต่างๆ ของคณะสงฆ์ภายในงานพระราชทานเพลิงศพของท่านคณะเจ้าภาพได้พิมพ์หนังสือ “กู้วิกฤติคณะสงฆ์ไทย” ของพระวรพงษ์ โชติธมโม ซึ่งท่านมีส่วนร่วมในงานค้นคว้าวิจัยและเสนอแนะทางวิชาการออกเผยแพร่ร่วมกับหนังสืออื่นๆ ในงานพระราชทานเพลิงศพดังกล่าวด้วย

ด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ท่านเป็นผู้รอบรู้และใฝ่ใจศึกษาค้นคว้าอยู่เสมอ และด้วยจิตวิญญาณความเป็นครูของท่าน ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมเขตสาทร ท่านจะพูดถึงความเป็นมาเป็นไปของศิลปวัฒนธรรมของประเพณีแต่ละเรื่องแต่ละแห่งให้ที่ประชุมฟังเสมอ ซึ่งในหลายๆ เรื่องลึกซึ้งกว่าหนังสือหรือตำราที่เคยอ่านและอีกหลายเรื่องที่ไม่มีในตำรา จึงเป็นบุญของคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมเขตสาทรที่มีบรมครูทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีเป็นประธาน

ที่สำคัญความรู้ความสามารถของท่านล่วงรู้ถึงพระเนตรพระกรรณ ท่านจึงได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยาเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๓ เป็นราชบัณฑิตของราชบัณฑิตสถานเมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๑๗ เป็นราชบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๒๑ และดำรงสถานเช่นนั้นถึงวาระสุดท้ายของชีวิตศาสดาจารย์ ดร.อมร รักษาสัตย์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๖ อิสริยาภรณ์ ๑. เหรียญจักรพรรดิมาลา ๒๕๒๘ ๒. มหาวชิรมงกุฎ ๒๕๒๘ ๓. มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ๒๕๓๓ ๔. ตติเรกคุณาภรณ์ ๒๕๔๐ ๕. เหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา ๒๕๔๓ ถึงแก่อนิจกรรม ๘ สิงหาคม ๒๕๔๘