ชีวประวัติ

พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)

อดีตเจ้าอาวาส วัดดอน และวัดยานนาวา พระนักปราชญ์ ผู้เป็นเพชนน้ำเอกแห่งบวรพุทธศาสนา

พระเดชพระคุณพระพรหมโมลีเป็นผู้ดั่งเพชรน้ำเอกแห่งพระพุทธศาสนาเป็นดังวีรชนผู้กล้าในดวงใจของพุทธศาสนิกชน ผู้จุดประกายแสงสว่างแห่งพระธรรมให้โชติช่วงโชตนาการขึ้นมาอีกครั้ง แหล่าสาธุชนผู้เลื่อมใสศรัทธาต่างรู้จักท่านในนาม เจ้าคุณวิสาศญาณวโร พระเดชาพระคุณพระพรหมโมลีมีนามเดิมว่า วิลาศ ทองคำ เกิดเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๓ ณ ตำบลอุโลกสี่หมื่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อสำเร็จชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนประจำอำเภอได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๖ โดยมีพระครูวรวัตวิบูล วัดแสนตอ เป็นพระอุปัชฌาย์และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดดอน เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๔๙๓ โดยมีพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยาเป็นพระอุปัชฌาย์ และได้จำเสร็จการศึกษาภาษาบาลีในชั้นสูงสุด คือเปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๓กรรมฐานครั้งแรก และพระอาจารย์ภัททันตะอาสภเถระเป็นพระวิปัสสนาจารย์ผู้บอกกรรมฐานในครั้งหลังปราชญ์สงฆ์ ผู้รจนาธรรมเป็นเลิศ

พระเดชพระคุณพระพรหมโมลี ท่านได้อุทิศตนในการเผยแพร่งานพระพุทธศาสนาในด้านต่างๆ ทั้งงานสอนพระปริยัติธรรมและงานคณะสงฆ์ โดยเฉพาะงานวรรณกรรมที่รจนาแล้วเสร็จและมีการติพิมพ์ออกเผยแพร่มากมายอาทิเช่น “ภูมิวิลาสินี” ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ “วิมุตติรัตนมาล”ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ “กรรมทิปนี” ในปีพ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่งล้วนแต่ได้รับรางวัลชนะเลศการประกวดวรรกรรมไทยของธนาคารกรุงเทพจำกัด นอกจากนี้ยังมีหนังสือ “โลกทิปนี”,”มนีนาถทีปนี” ,”วิปัสสนาทีปนี”,”ภาวนาทีปนี”,”โลกนาถทีปนี”และ “โพธิธรรมทีปนี” เป็นต้น กรุงรัตนโกสินทร์ในยุคปัจจุบันจะหาพระนักปราชญ์ผู้มีผลงานรจนาหนังสือธรรมมะ เป็นวรรณกรรมอันทรงคุณค่า จนเป็นที่ยอมรับของมหาชนโดยทั่วไปได้นั้น นับวันจะมีน้อยลงทุกที จึงนับได้ว่าพระเดชพระคุณท่านเป็นยอดนักปราชญ์ฯผู้รจนาผลงานวรรณกรรม ที่ถือว่าเป็นเพชนน้ำเอกของบวนพุทธศาสนาที่เราชาวพุทธควรภาคภูมิใจพระนักพัฒนา

งานในด้านสาธารณูปการ พระเดชพระคุณพระพรหมโมลีท่านได้อำนวยการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ เสนาสนะและถาวรวัตถุภายในวัดดอน และวัดยานนาวา โดยได้บูรณะพัฒนาวัดจากสภาพทรุดโทรมจนสง่างาม สมฐานะพระอารมหลวง

พระนักปกครอง.....ผู้เป็นเสาร์หลักแห่งสังฆมณฑล

หลักปฏิบัติของพระเดชพระคุณพระพรหมโมลี ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม ยึดมั่นบนรากฐานพระธรรมวินัยของพระบรมศาสดา และยืนหยัดอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง ทำให้ท่านเป็นที่ยอดรับในหมู่พระเถระนุเถระ ให้ทำหน้าที่ปกครองสงฆ์ในด้านต่างๆ ดังนี้

๑. เป็นเจ้าอาวาสวัดยานนาวา

๒. เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม

๓. เป็นคณะกรรมการ ศ.ต.ภ.

๔. เป็นหัวหน้าอำนวยการงานพระธรรมทูตสายที่๑

๕. เป็นเจ้าคณะภาค ๑

งานศึกษา

๑. เป็นอาจารย์สอนปริยัติธรรม

๒. เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง

๓. เป็นกรรมการตรวจบาลีสนามหลวง

๔. เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดยานนาวา

สมณศักดิ์

พระเดชพระคุณพระพรหมโมลี ท่านได้ทุ่มเทปฏิบัติศาสนกิจ และมีความเจริญรุ่งเรืองในพระศาสนาโดยลำดับ ดังนี้

พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีวิสุทธิโสภณ

พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวิสุทธิโสภณ

พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมนี

พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมธีรราชมหามุณี

พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะชั้นหิรัญยบัฏที่ พระพรหมโมลีศรีสังฆโสภณ วิมลสีลาจารนิวิฐสุจิตวรรณกรรมดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวนสัฆาราม คาวาสี

อธิฐานสู่พระนิพาน

พระเดชพระคุณพรหมโมลี ท่านเป็นพระเถระที่รอบรู้ในทุกด้านทั้งปริยัติศึกษาและปฏิบัติกรรมฐานในขณะเดียวกันก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย มีน้ำใจงดงาม และมีมโนรถปรารถนาอันประเสริฐที่จะทำให้พระพุทธศาสนาเป็นหลักชัยของคนไทยสืบไป ให้มวลมนุษย์ได้หลุดพ้นกองทุกข์ก้าวสู่ฝั่งพระนิพาน ดังที่ท่านได้เขียนไว้ในหนังสือ “กรรมทีปนี” ว่า “ข้าพเจ้าผู้มีน้ำใจกอปรด้วยศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะให้พระสัทธรรมคำสั่งสอนแห่งองค์สมเด็จพระชินวรโลกนารถบรมศาสดา ตั้งมั่นถาวรอยู่ตลาดกาล จึงอุตสาหะรจนาเรียบเรียงวรรณกรรมเรื่อง”กรรมทีปนี” ขึ้นแล้ว ได้ประสบบุญกุศลซึ่งอำนวยผลประโยชน์ให้อันใด ด้วยเดชะบุญที่ได้ด้วยดีนั้น ของสรรพสัตว์ทั้งหลายจงประสบสุขสำราญจงทั่วกัน อนึ่ง เหล่าพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสังฆ์เจ้า อันรวมกันไว้เป็นพระรัตนตรัย ซึ่งมิใช่ปรารถนา ใคร่จะพ้นทุกข์ จงพ้นทุกข์ในอบายภูมิ และจงบรรลุถึงพระนิพานอันเป็นสถานถิ่นสิ้นเวรกรรม ในอนาคตกาลด้วยเถิด ขอมโนรถความปรารถนาอันประเสริฐ ซึ่งเกิดจากจององค์สมเด็จพระขินวรบรมศาสดาจารย์ตลอดกาลนิรันดรเทอญ” พระเดชพระคุณพระพรหมโมลี ท่านได้ใช้เวลากว่าค่อนชีวิตดำเนินตามรอยพระบาทพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถือได้ว่าเป็น “พระแท้” ที่มนุษย์และเทวดาควรกราบไหว้บูชาแท้จริง

พระเดชพระคุณพระพรหมโมลี มรณภาพด้วยโรคหัวใจล้มเหลวเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เวลา ๒๓.๐๐น. เมืองทวาย ประเทศเมียนม่าร์ รวมสิริอายุได้ ๗๑ ปี ๕๑ พรรษา