มัสยิดยะวา

มัสยิดยะวา

ประวัติความเป็นมามัสยิดยะวา

“ยะวา” เป็นชื่อชุมชนมุสลิมกลุ่มหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ที่ใช้เรียกกลุ่มของตนเอง ชื่อ “ยะวา” เป็นที่รู้จักกันของชาวไทยว่า “ชวา” มุสลิมที่มาจากเกาะชวา ประเทศอินโดนิเซียออกเสียงคำว่าชวา เป็น ยะวา ตามศัพท์สำเนียงที่ใช้กันในบ้านเกิดของเมืองนอนของตน เอกสารทางราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้คำว่าชวาและยะวาปะปนกันไป แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นชุมชนกลุ่มเดียวกันนั่นเอง แม้ในปัจจุบันชื่อของสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนาหรือเรียกว่า “มัสยิด” ก็จดทะเบียนต่อทางการในนามของมัสยิดยะวา

ชาวยะวามีที่ดินอยู่ในบริเวณซอยโรงน้ำแข็ง ถนนสาทรใต้ (ซอยเจริญราษฎร์ ถนนสาทร) แขวงยานนาวา เขตสาทร ชาวยะวานิยมเลือกถิ่นที่อยู่ของตนว่า “กำปงยะวา” (Kampong Java) คำว่ากำปง มีความหมายเท่ากับหมู่บ้าน แต่สำหรับชาวยวาสูงอายุนั้นมักจะเรียกหมู่บ้านของตนว่า “สุไงบารู” (Sungei Baru) แปลว่า ใหม่ ความหมายของของใหม่ก็คือคลองสาทร นั่นเอง

เมื่อชาวยะวาบางครอบครัวได้ย้ายเข้ามาอยู่บริเวณคลองสาทร (สาทรใต้) ในระยะแรกนั้นยังไม่มีสถานที่นมัสการพระผู้เป็นจ้าวร่วมกัน คงใช้บ้านใดบ้านหนึ่งเป็นสถานที่นมัสการ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ฮัยยีมูฮัมมัดซอและฮ์ ชาวยะวาใช้บังคับฮอลันดา ซึ่งมีที่อยู่บริเวณตรอกโรงน้ำแข็ง ถนนสาธร ตำบลคอกกระบือ อำเภอบางรัก (ปัจจุบันเป็นแขวงยานนาวา เขตสาทร) ได้มอบที่ดินให้เป็นสถานที่ปลูกสร้างมัสยิด เพื่อใช้เป็นสถานที่นมัสการพระผู้เป็นเจ้า ที่ดินนี้เป็นของชาวจีน ชื่อจ้อย พ.ศ. ๒๔๔๘ อัจยีมูฮัมมัดซอและฮ์ ได้ยื่นคำร้องต่อทางการให้เปลี่ยนโฉนดสำหรับที่ดินนี้ใหม่ โดยใช้ชื่ออัจยีมูฮัมมัดซอและฮ์เป็นผู้จัดการที่ของมัสยิดด้วย ชาวยะวาในอาณาบริเวณนั้น อาทิ เช่น นายมูฮัมมัดมูซา,นายระก๊าและชาวยะวาคนอื่นๆ ทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน ได้ร่วมกันก่อตั้งมัสยิดยะวาขึ้นเป็นสถาปัตยกรรมแบบยะวา แม้จะมีการซ่อมแซมมัสยิด ๒ ครั้ง ครั้งแรกงบประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๐ และครั้งที่ ๒ ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ก็ยังคงรักษารูปหลังคาตามแบบเดิม เปลี่ยนแปลงเฉพาะอาคารมัสยิดให้กว้างขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะตรงที่นั่งพักสนทนาธรรม ซึ่งชาวยะวาเรียกบริเวณที่ตั้งพักนี้ว่า บาไล (Balai)

อย่างไรก็ดีมัสยิดยะวาได้ใช้เป็นสถานที่นมัสการพระผู้เป็นเจ้ามีอีหม่ามทำหน้าที่เป็นผู้นำทางศาสนาในมัสยิดจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นจำนวน ๖ ท่านด้วยกัน ซึ่งมีทั้งชาวยะวา และชาวมุสลิม เชื้อสายมาเลย์ ในหมู่บ้านเดียวกันคือ อัยยีอับดุลรามัน(ยะวา) อัจยีอิสมาแอล(มาเลย์) อัจยีสุไกมี อิหม่ามนุยุบ (ยะวา) อัจยีอับดุลเราะห์มาน หรือ อัจยีอรุณ พิทยายน(มาเลย์) เป็นอีหม่ามของมัสยิดยะวาจากการพิจารณาเชื้อสายของีหม่ามแต่ละคนแล้ว จะเห็นว่ามีทั้งชาวยะวาและมาเลย์ทำหน้าที่ซึ่งมีทั้งชาวยะวาและมุสลิมเชื้อสายมาเลย์ในหมู่บ้านเดียวกัน และมุสลิมซอยวัดปรกก็ใช้มัสยิดยะวา เป็นสถานที่นมัสการด้วยนับตั้งแต่สร้างมัสยิดเสร็จ