วัดยานนาวา

วัดยานนาวา

อดีตโรงเรียนเสนาธิการทหาร

ในบท “บ้านทะวายที่มาแห่งต้นตระกูลพระบรมมาราชวงศ์จักรี” ได้กล่าวถึงพระนเรศวรมหาราชดำริย้าย ทหารอาสาโปรตุเกส อาสาวิลันดา อาสาญี่ปุ่น มาไว้ที่เมืองบางกอก และย้ายครัวชาวรามัญมาคุมพวกทหารอาสาต่างชาติเหล่านี้อีกชั้นหนึ่ง โดยตั้งชุมชนรามัญที่ตำบลบ้านทะวาย (แขวงยานนาวาและทุ่งวัดดอนในปัจจุบัน) และสมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้ว ได้ส่งพระอาจารย์พรหม พระราชาคณะสำนักวัดป่าแก้ว มาตั้งพระอารามข้างชุมชนบ้านทะวาย เรียกว่าวัดคอกควาย (วัดยานนาวาในปัจจุบัน) นั้น

“พระอรามนี้เป็นสำนักที่ถ่ายทอดสั่งสอนสรรพวิทยาในระดับสูงเฉพาะเชื้อพระวงศ์กษัตริย์ ในสมัยโบราณพระอาราม(วัด) ต่างๆ นั้นจะเป็นที่ถ่ายทอดสรรพวิทยาทางการทหาร ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ระดับคือ

๑. ระดับพื้นฐาน เน้นหนักด้านเพลงอาวุธ ๑๘ ชนิด เช่น มวย ดาบ ง้าว โล่ เขน ทวน พลอง ฯลฯ เช่น สำนักวัดพุทไธสวรรค์ วัดมหาโลก เป็นต้น ราษฎรทั่วไปเข้าศึกษาได้

๒. ระดับเสนาธิการ เน้นหนักด้านการบริหาร การปกครอง พระธรรมนูญ (กฎหมาย) การวางแผนการรบ การจัดวางตัวบุคคล การจัดหมวดหมู่กองทัพ การอ่านชัยภูมิ การตั้งค่ายกล เวทวิทยาคม อาพัด เพชรหลีก ผูกหุ่นพยนต์ โหราศาสตร์ในการวางฤกษ์วางนามขุนพล แม่ทัพ ฯลฯ ผู้ที่จะเข้าศึกษาในระดับนี้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์หรือบุตรข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น ยกเว้นจะได้รับการคัดเลือกเป็นพิเศษจากพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นอาจารย์ โดยเริ่มพื้นฐานจากการปฏิบัติสมาธิจิตด้านกสิณเป็นปฐมและเป็นข้อบังคับจะต้องปฏิบัติทางจิตถึงขั้นระดับปฐมญาณ สำนักที่สั่งสอนในระดับนี้ จะไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป จากการค้นคว้าอย่างสุดความสามารถพบว่า ในประวัติศาสตร์มีเพียง ๒ วัด เท่านั้น คือ วัดอาโยธยา และ วัดคอกควาย

วัดคอกควาย จัดอยู่ในฐานะระดับเสนาธิการทหาร จึงมีศิษย์ที่เพียบพร้อมด้วยชาติภูมิสำเร็จการศึกษาสรรพเวทวิทยาเป็นจำนวนมาก ปรากฏผลงานที่เป็นที่เลื่องลือระบือนามนับเนื่องเป็นตระกูลสืบต่อกันมา..”(ข้อมูลจาก “ตำนานวัดญาณนาวา”ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๕ น. ๓๕ - ๔๓

พระอาจารย์พรหมเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดคอกควายในสมัยพระนเรศวรมหาราชมีอายุยืนมาก ได้ประสาทสรรพเวทวิทยาให้แก่พระนารายณ์มหาราช และพระยาโกษา (เหล็ก) พระยาโกษา (ปาน) พระสหายทั้ง ๒ คน พระนารายณ์มหาราชนั้นนอกจากมีบุญญาธิการแล้วยังมีศักดาอภินิหารมากมายเป็นที่ประจักษ์ในประวัติศาสตร์ ก็ด้วยเหตุผลเป็นศิษย์เอกของวัดคอกควายนี้เอง

ในบท “พระอาจารย์มี:พระเถระผู้ทรงวิทยาคุณแห่งวัดยานนาวา” ได้กล่าวถึงพระอาจารย์มี ทำพิธีตำรับพิไชยสงครามวางดวงพระฤกษ์ เสกพระพุทธมนต์ ให้แก่กองทัพพระยามหากษัตริย์ศึกเข้าตีกรุงธนบุรีปราบกบฏ พระยาสวรรค์สำเร็จ และในสงคราม ๙ ทัพ พระอาจารย์มีก็ได้ใช้วิทยาคุณของท่าน ช่วยให้ทัพไทยชนะทัพพม่าได้ทั้งหมด

ต่อมาเมื่อเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรีได้ทรงสถาปนาพระอาจารย์มีแห่งวัดคอกควายเป็นพระโพธิวงศ์ตำแหน่งพระราชาคณะวิปัสสนาและเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดคอกกระบือ” พร้อมทั้งพระราชทานที่ดิน ที่นา ให้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่และกุฎิเรือนไม้ถวาย ในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ ต่อมาในรัชกาลสมัยพระนั่งเกล้าฯ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อถึงรัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จักรวรรดินิยมอังกฤษนะฝรั่งเศสได้ใช้นโยบายเรือปืน วิทยาการสมัยใหม่ และกองทัพสมัยใหม่รุกรานประเทศต่างๆ ไปทั่วโลกวิทยาการเก่าของไทยไม่อาจรับมือได้ จึงเสื่อมลงไม่มีใครสนใจจะเรียนรู้อีกต่อไป

ในปี พ.ศ. ๒๓๘๗ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ วัดคอกกระบือขึ้นใหม่พร้อมกับมีพระราชศรัทธาสร้างพระเจดีย์ขึ้นในวัด โดยมีพระราชดำริเห็นว่า จะสร้างเป็นพระสถูปหรือพระปรางค์ก็มีอยู่ที่อื่นมาก จึงมีพระราชปรารภว่า แต่ก่อนมาเรือที่ใช้ไปมาค้าขายกับต่างประเทศใช้เรือสำเภาเป็นพื้น ในเวลานั้นเกิดต่อเรือกำปั่นใบอย่างฝรั่งใช้กันมากขึ้นทุกที พระองค์ทรงพยากรณ์ว่า เรือสำเภาคงจะสูญไป อาศัยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์มีฐานเป็นสำเภาเท่าเรือสำเภาจริง และมีพระราชดำรัสว่า “...คนภายหน้าอยากจะเห็นสำเภาเป็นอย่างไรจะได้มาดู...”

ดแทนด้วยเรือกลไฟสมัยใหม่ โดยเรือสำเภาลำสุดท้ายมีชื่อว่า “บ้วนเฮง” ซึ่งเป็นเรือสำเภาของตระกูล “พิศาลบุตร” พระเจดีย์รูปเรือสำเภาที่วัดยานนาวา จึงเป็นเสมือนที่ระลึกการค้าสำเภาสยามที่เคยรุ่งเรืองและเฟื่องฟูอย่างมากในยุคต้นต้นรัตนโกสินทร์