ข้อมูล

เทศกาลเชงเม้ง

เทศกาลเชงเม้ง

      เทศกาลเชงเม้งหรือซิงหมิงในภาษาจีนกลาง คนจีนนิยมการฝังศพ ไม่นิยมเผาตามคตินิยม ทางพุทธศาสนาสุสานของคนจีนมีมานานกว่า 6000 ปีแล้ว โดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดินหรือจักรพรรดิ นิยมสร้างสุสานขนาดใหญ่มี มีวังอยู่ใต้ดินมีสิ่งของมีค่าบอกยศถาบรรดาศักดิ์ และเครื่องใช้จำนวนมากที่ผู้ตายเคยใช้สอย จะถูกบรรจุไว้ในสุสานด้วย ต่อมามีการทำหุ่นจำลอง คน ช้าง ม้า วัว ควาย ฝั่งแทนของจริง ตัวอย่างสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ ฝั่งหุ่นตุ๊กตาซึ่งจำลองมาจากกองทัพของจิ๋นซีฮ่องเต้ ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นหุ่นกระดาษ จำลองสิ่งของเครื่องใช้ รถยนต์ โทรทัศน์ กระทั่งคนใช้ คนเฝ้าบ้าน เผาอุทิศไปให้ผู้ล่วงลับ เห็นได้ในงานาศพตามวัดต่างๆ ในประเทศไทย สุสานของคนไทยเชื้อสายจีน รวมทั้งคนไทยบางส่วน มีอยู่ทั่วไปตามวัดต่างๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะปริมณฑลของกรุงเทพฯ เช่น ที่สระบุรี ชลบุรี เพชรบุรี เป็นต้น ในเขตสาทร มีสุสานของคนไทยเชื้อสายจีนอยู่หลายแห่ง เช่น สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย สุสานจีนแคะ สุสานจีนไหหลำ สุสานจีนกวางตุ้ง สุสานจีนฮกเกี้ยน เป็นต้น

      วันเชงเม้งอยู่ในช่วงเดือน ๓ ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ปฏิทินสากลก็จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม วันตรงคือวันที่ ๔ เมษายน ของทุกปี ช่วงเดือน ๓ เป็นต้นฤดูใบไม้ผลิ อากาศปลอดโปร่งเย็นสบาย ท้องฟ้าแจ่มใส จึงเรียกเทศกาลนี้ตามสภาพภูมิอากาศ เชง แปลว่าแจ่มใส เม้ง แปลว่า ปลอดโปร่ง โล่ง แจ่มชัด การไปไหว้หลุมฝังศพและการทำความสะอาดบริเวณหลุมฝังศพ เป็นการรำลึกถึงบรรพชนผู้มีพระคุณแห่งตน เป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณ ความกตัญญูรู้คุณคนเป็นหนึ่งในสามสิบแปดมงคลสูงสุดของมนุษย์

      ที่มาของวันเชงเม้งและกระดาษหลากสีบนหลุมฝังศพ

      เทศกาลเชงเม้งเกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นราชวงศ์ฮั่น ๒๐๖ ก่อนคริสตกาล หรือ พ.ศ. ๓๔๐ เมืองฮั่นเกาจู่ (หลิวปัง) ผู้สถาปนาราชวงศ์ฮั่น ทำศึกปราบก๊กต่างๆ ลงอย่างรับคาบ รวบรวมประเทศจีนเป็นเอกภาพได้แล้ว ก็นำพาเสนาบดีเหล่าอำมาตย์กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดของตน ตั้งใจจะไปเคารพหลุมฝั่งศพของพ่อแม่ แต่ด้วยเหตุผลภัยสงครามและเวลาได้ผ่านไปเนินนาน ป้ายหน้าหลุมฝังศพแตกหักไม่สมบูรณ์ ตัวหนังสือที่สลักไว้บนป้ายก็เลือนรางหาไม่พบ สอบถามผู้คนที่นั่นก็ไม่มีใครทราบ ขณะนั้นได้เกิดลมพัดกรรโชกขึ้น กระดาษสี่ที่ข้าราชบริพารคนหนึ่งสอดไว้ในอกเสื้อปลิวออกมา หลิวปังนึกอะไรบางอย่างได้ จึงขอกระดาษปั้นหนึ่งแล้วอธิฐานว่า ข้าจะโยนกระดาษนี้ขึ้นสู่ท้องฟ้าถ้ามีกระดาษแผ่นได้ปลิวไปติดป้ายหลุมฝังศพใดแล้วไม่ถูกลมพัดพาไปหลุมนั้นเป็นหลุมฝังศพของพ่อแม่ข้า เมืองหลิวปังโยนกระดาษปั้นนั้นขึ้นสู่ท้องฟ้า มีกระดาษหลายใบปลิวไปตกที่หลุมฝังศพหลุมหนึ่งแล้วไม่ปลิวไปที่ใดอีก หลิวปังจึงทำการตรวจสอบอย่างพินิจพิเคราะห์ แม้ตัวหนังสือจะเลือนรางก็พอจะได้ใจความว่าใช่หลุมฝังศพของพ่อแม่แน่ จึงทำการเซ่นไหว้หลุมฝังศพนั้น และกลายเป็นธรรมเนียมว่าเมื่อทำความสะอาดบริเวณหลุมฝังศพแล้ว จะต้องวางกระดาษหลากสีไว้ที่ป้ายและบริเวณหลุมฝังศพโดยการเอาของหนักทับไว้ เพื่อแสดงว่าลูกหลานได้มาแสดงความเคารวะผู้ล่วงลับแล้วหลุมฝังศพนั้นไม่ได้ถูกทอดทิ้งประเพณีนี้ยังคงสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้รวมทั้งในประเทศไทยด้วย