ศาสนาในเขตสาทร

ศาสนาในเขตสาทร

ศาสนาในเขตสาทร

      ประชากรในเขตสาทรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาได้แก่ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามและศาสนาพราหมณ์ ฮินดู มีวัดในพระพุทธศาสนา ได้แก่ วัดยานนาวา วัดดอน วัดปรก วัดลุ่มเจริญศรัทธา และวัดสุทธิวราราม โบสถ์คริสต์ 1 แห่ง มัสยิด 1 แห่ง และสถานประกอบพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู 1 แห่ง มีศาลเจ้า 6 แห่ง ได้แก่ ศาลเจ้าเทียนโหวเซี้ยมม้อ ศาลเจ้าแปะกง ศาสนาแปะกง (ซอยดอนกุศล) ศาลเจ้าเทียนฮั้วโก๋วเนี้ย ศาลเจ้าฮุ้งโจ้ว และศาลเจ้ากวนอู โดยรายละเอียดของแต่ละศาสนามีดังนี้

ศาสนาพุทธ : หลักธรรมสำคัญ

      ศาสนาพุทธสอนว่า การเกิด แก่ เจ็บ และตาย ล้วนเป็นทุกข์ และเชื่อว่าโลกนี้เกิดขึ้นจากกฎแห่งธรรมชาติ 5 ประการ อันมี กฎแห่งสภาวะ (อุตุนิยาม) มีธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศที่เปลี่ยนเป็นธาตุต่าง ๆ กลับไปกลับ กฎแห่งชีวิต (พีชนิยาม) คือกฎสมตา (ปรับสมดุล) กฎวัฏฏตา (หมุนเวียน) และกฎชีวิตา (มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน) ที่ทำให้เกิดชีวิตินทรีย์ รวมทั้งกฎแห่งวิญญาณ (จิตนิยาม) คือนามธาตุที่กลายเป็น ธรรมธาตุ 7 ที่เป็นไปตาม กฎแห่งเหตุผล (กรรมนิยาม) และกฎไตรลักษณ์ (ธรรมนิยาม) กฎไตรลักษณ์เป็นสิ่งที่ทำให้มีการสร้าง ดำรงรักษาอยู่ และทำลายไปของทุกสรรพสิ่ง เมื่อย่อกฎทั้ง 3 แล้วจะเหลือเพียง ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป

ศาสนาพุทธ : แนวคิดคำสอน

      พิธีกรรมต่าง ๆ ในทางศาสนาพุทธ รวมเรียกว่า ศาสนพิธีในทางพุทธศาสนาพิธีกรรมที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างเป็นหลักการคือสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์และพิธีกรรมที่มีมาตามวัฒนธรรมคืออัญชลี (การประนมมือ) วันทา (การไหว้) และอภิวาท (การกราบ) รวมถึงการเวียนประทักษิณ (เดินวนขวาสามรอบหรือการเวียนเทียน) และการพรมน้ำมนต์ เนื่องจากศาสนาพุทธถือว่าพิธีกรรมเป็นเพียงอุบาย ในการช่วยให้เข้าสู่ความดี ในผู้ที่ยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ทางศาสนา จึงไม่จำกัดหรือเจาะจงแน่ชัดลงไป ดังนั้นพิธีกรรมของชาวพุทธจึงมีความยืดหยุ่น และเป็นไปตามวัฒนธรรมของชนชาตินั้น ๆ ตามความชอบของสังคมนั้น ทำให้ประเพณีชาวพุทธทั่วโลกจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันอันเนื่องจากพุทธไม่ถือว่าวัฒนธรรมตนเป็นวัฒนธรรมเอกและวัฒนธรรมอื่นเป็นวัฒนธรรมรองจนต้องทำลายหรือดูดกลืนวัฒนธรรมของชนชาติอื่น ๆ พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ใจกว้างในความแตกต่างทางวัฒนธรรมยินดีในความหลากหลายทางประเพณี ยอมรับในวัฒนธรรมที่แตกต่างของกันและกันได้ดี

ศาสนาคริสต์ : ความแตกต่างของนิกายโรมันคาทอลิก และโปรแตสแตนต์

      ความแตกต่างของนิกายโรมันคาทอลิก และโปรเตสแตนต์ ได้แก่ 1. การนับถือพระแม่มารีและนักบุญของนิกายโรมันคาทอลิก 2. คัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาเดิมของนิกายโรมันคาทอลิก มี 46 เล่ม ขณะที่ของนิกายโปรแตสแตนต์ มี 39 เล่ม โดยคัมภีร์ 7 เล่ม ที่ฝ่ายโปรเตสแตนต์ไม่ยอมรับเข้าในสารบทนั้น เรียกว่า “คัมภีร์อธิกรรม 3. พิธีกรรม นิกายโรมันคาทอลิก มีพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ ที่ต้องปฏิบัติ 7 พิธี ได้แก่ ศีลล้างบาป ศีลกำลัง ศีลมหาสนิท ศีลบรรพชา ศีลสมรส ศีลอภัยบาป (ศีลจุ่ม หรือบัพติสมา) และศีลมหาสนิท 4. ประมุขสูงสุด ศริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก มีพระสันตะปาปา (Pope) เป็นพระประมุขสูงสุดมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่สันตะสำนัก (Vatican) ในนครรัฐวาติกันภายในกรุงโรม 5. วันสำคัญ นิกายโรมันคาทอลิก โดยสำนักวาติกัน มีการกำหนดวันฉลองมากกว่านิกายอื่น (มักเกี่ยวกับเรียกคริสต์ศาสนาทุกนิกายเหมือนกันว่า คริสเตียน ซึ่งแปลว่า คริสต์ศาสนิกชน แต่ในประเทศไทย มักเรียกคริสต์ศาสนิกชนนิกายดรมันคาทอลิกว่า คริสตัง และเรียกนิกายโปรเตสแตนต์ว่า คริสเตียน เนื่องจากนิกายโรมันคาทอลิก เข้ามาเผยแพรก่อนตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราชโดยบาทหลวงชาวโปรตุเกส ซึ่งในภาษาโปรตุเกสคำว่าคริสศาสนิกชนออกเสียงว่า คริสตัง ชาวไทยจึงติดปากเรียกผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกว่า คริสตัง ขณะที่ นิกายโปรเตสแตนต์ เข้ามาเผยแพร่ภายหลัง คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยคระมิชชันนารีสมัยเดียวกันกับหมอรัดเลย์ ชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรียกตัวเองว่า คริสเตียน ตามภาษาอังกฤษ

ศาสนาอิสลาม : ประวัติความเป็นมา

      ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่ถือกำเนิดขึ้นในนครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบียหลังพุทธศักราชประมาณ 1,113 ปี ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม แปลว่า ผู้แสวงหาสันติ หรือ ผู้นอบน้อมต่อประสงค์ของพระเจ้า

      มุสลิม นับถือพระผู้เป็นเจ้าที่ยิ่งใหญ่ ทรงพระนามว่า พระอัลลออ์ทรงเลือกบุคคลที่พร้อมด้วยคุณธรรมอันสูงส่ง ในแต่ละยุคแต่ละสมัยให้เป็นศาสนาทูตของพระองค์ มีหน้าที่นำข้อบัญญัติทางศาสนามาเผยแพร่แก่มวลมนุษย์ ศาสนทูตองค์สุดท้าย คือ นบีมุฮัมมัด ท่านเป็นอาหรับกำเนิดที่เมืองมักกะฮ์ เป็นชุมชนในเผ่ากุร็อยชุ ท่านศาสดาเป็นกำพร้าตั้งแต่เยาว์วัย ในเวลาต่อมาจึงต้องไปอยู่ในความอุปการะของอาบูฎลิบผู้เป็นลุง โดยช่วยลุงเลี้ยงปศุสัตว์ ค้าขาย และทำงานอื่นๆนครอบครัว เป็นโตเป็นหนุ่ม ได้ไปทำงานนางคอดีญะฮ์ เศรษฐีม่ายโดยท่านทำหน้าที่ควบคุมกองคาราวานสินค้า ไปขายยังประเทศใกล้เคียง ซึ่งในเวลาต่อมาทั้งสองก็ได้แต่งงานกัน มีบุตรธิดาด้วยกัน 6 คน

      ในสมัยที่ท่านศาสดาถือกำเนิดนั้น สังคมอาหรับอยู่ในสภาวะที่เสื่อมโทรมมาก ผู้คนมั่วสุมดื่มน้ำเมาและเล่นการพนัน การละเมิดประเวณีเกิดขึ้นเป็นประจำมีการฝังเด็กหญิงทั้งเป็นเพราะถือว่าเป็นสิ่งอัปมงคล การแก้แค้นด้วยการประหัตประหารเป็นเรื่องปกตอผู้คนงมงายกับการบูชารูปเคาระ และการประกอบพีกรรมต่างๆที่สิ้นเปลืองและไร้สาระ ท่านศาสดาพยายามหาหนทางแก้ปัญหาในสังคมที่ท่านพบเห็นอยู่เสมอ จนกระทั่ววันหนึ่งขณะที่ท่านหลบไปหาความสงบวิเวณในถ่ำภูเขาอิรอฮ์ เททูตญิบรออีลก็ได้นำโองการของพระเจ้า (พระอัลลอฮ์) มาประทานแก่ท่าน ท่านศาสดามุฮัมมัดจึงเริ่มประกาศศาสนา คนแรกที่เข้ารับนับถือ ศาสนาอิสลามก็คือนางคอดีญะฮ์ผู้เป็นภรรยา การประกาศศาสนาช่วงแรกเต็มไปด้วยความยากลำบากและถูกต่อต้านเพราะ ศาสนาอิสลามทำให้ผู้ที่มีอิทธิพลเสียประโยชน์รวมทั้งให้คนทั่วไปซึ่งนับถือรูปเคารพต่าง ๆ ขัดเคือง

ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู : ประวัติความเป็นมา

      ผู้กำเนิดศาสนานี้ในตอนแรกเริ่มเรียงตัวเองว่า “พราหมณ์” ต่อมาศาสนาได้เสื่อมความนิยมลงระยะหนึ่งเนื่องจากอิทธิพบของศาสนาพุทธ จนมาในช่วยพุทธศตวรรษที่13 ศังกราจารย์ได้ปฏิรูปศาสนาโดยแต่งคัมภีร์ปุราณะ ลดความสำคัญของศาสนาพุทธ และนำหลังปฏิบัติรวมทั้งหลักธรรมของศาสนาพุทธบางส่วนมาใช้และฟื้นฟูปรับปรุงศาสนาพราหมณ์เป็นให้เป็นศาสนาฮินดู โดยคำว่า “ฮินดู” เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยันที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำสินธุ และเป็นคำที่ใช้เรียกลูกผสมของชาวอารยันกับชาวพื้นเมืองในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองนี้ได้พัฒนาศาสนาพราหมณ์ โดยการเพิ่มเติมเทพเข้าท้องถิ่นดั่งเดิมลงไป เนื่องจากเวลานั้นสังคมอินเดียแตกแยกอย่างมากเนื่องจากอิทธิพลของศาสนาในประเทศอินเดียที่มีลักษณะเป็นกึ่งพหุเทวนิยม คือนิยมนับถือเทวดา ทำให้ทางตอนเหนือนับถือพระศิวะ ซึ่งเป็นเทพแห่งภูเขาหิมะลัย ทางตอนใต้ของชาวประมง นับถือวิษณุซึ่งเป็นเทพที่ให้ฝนและพายุ ชาวป่านับถือพระนิรุทธและตอนกลางนับถือพระพิฆเนตร คนอินเดียเวลานั้นเริ่มไม่นับถือศาสนาพราหมณ์เป็นจำนวนมากขึ้น เมื่อต้องการรวมชาติ จึงรวมเทพเจ้าแต่ละท้องถิ่นเป็นหนึ่งเดียวกันกับศาสนาพราหมณ์แล้วเรียกศาสนาของใหม่นี้ว่า “ศาสนาฮินดู”เพราะฉะนั้นศาสนาพราหมณ์จึงมีอีกชื่อในศาสนาใหม่ว่า "ฮินดู" จนถึงปัจจุบัน