ชีวประวัติ

พระพรหมวชิรญาณ

พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงกโร)

พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงกโร) เจ้าอาวาสวัดยานนาวา เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ที่บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานนี ในสกุลสุทธิพันธ์ บิดา ขุนก่อเอ้อุกฤษ (ผา) มารดา นางก่อเอ้อุกฤษ (ตา) บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๒ ปี ในวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ ณ อุโบสถวัดยางน้อย โดยมีพระครูพินิฐศีลคุณ (อ่อนญาณเตโช) เป็นพระอุปัชฌาย์ราชาวาสวรมหาวิหาร โดยมีสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณณโก ป.ธ.๙) เมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมมหามุนี เป็นพระอุปัชฌาย์

การศึกษาด้านพระปริยัติธรรม

นักธรรมชั้นตรี จากสำนักเรียนวัดยางน้อย จังหวัดอุบลราชธานี

นักธรรมชั้นโท จากสำนักเรียนวัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี

นักธรรมชั้นเอก จากสำนักเรียนวัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี

เปรียญธรรม ๓ ประโยค จากสำนักเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร

การศึกษาด้านสากล

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนประชาบาล (พรหมพิทยา) บ้านยางน้อย

ประกาศนียบัตรชั้นบาลีอบรมศึกษาปีที่ ๒ จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พธ.ด.) สาขาสังคมศาสตร์ จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ด.ด.) สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปร.ด.) สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การเผยแพร่พุทธศาสนาในต่างประเทศ

พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้รัยเถรบัญชาให้ไปคลี่คลายปัญหาการขออนุญาตสร้างวัดไทยในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับความสำเร็จทุกประการ

พ.ศ. ๒๕๑๙ สร้างวัดไทยธัมมาราม นครชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา และ รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสนับแต่นั้นมาจนปัจจุบัน

พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้เริ่มสร้างวัดไทยในประเทศสหรัฐอเมริกาอีก ๒ วัด คือ วัดพุทธาวาส นครฮิวสตัน และวัดพุทธรังสี นครไมอามี

สรรพวิทยาการโหราศาสตร์

การศึกษาค้นคว้าจนเชี่ยวชาญในวิทยาการแขนงนี้อย่างยอดยิ่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๓ ครั้งยังเป็นสามเณร ความแม่นยำในการพยากรณ์เป็นที่อัศจรรย์ จึงเป็นที่เลื่องลือ ศรัทธาเลื่อมใสของสาธุชนทั้งในและต่างประเทศ สิ่งที่ควรพิจารณาในส่วนนี้ก็คือ คำจำกัดความของท่านในความเห็นเกี่ยวกับเรื่องโหราศาสตร์ คือ “ความจริงศาสตร์ทุกศาสตร์ยกเว้นพุทธศาสตร์เป็นเดียรัจฉานวิชา คำว่าเดียรัจฉานวิชาไม่ใช่หมายถึงวิชาชั่วร้ายศาสตร์ทางโลกทุกศาสตร์ล้วนเป็นเดียรัจฉานวิชาทั้งสิ้น เพราะไม่ได้เป็นหนทางนำไปสู่พระนิพพานที่สุดของการดับทุกข์ ดังนั้นคำว่า เดียรัจฉานที่แปลว่าวิชาที่ไปทางขวางไม่ใช่ไปทางหลุดพ้น จึงเป็นคำจำกัดความที่ถูกต้องที่สุด แต่เมื่อเรายังอยู่ในสังคมโลกก็ต้องรู้จักใช้ศาสตร์หนึ่งของทางโลกให้เป็นประโยชน์แก่ทางโลกขอแต่อย่ายึดถืออย่างงมงายศาสตร์ทุกอ่างในโลกเป็นโลกีย์ศาสตร์ ผู้รู้โลกีย์ศาสตร์ก็จะรู้เพียงโลกีย์ปัญญาไม่พ้นทุกข์ แต่ผู้รู้โลกุตระศาสตร์คือ ผู้รู้แจ้ง เรียกว่า โลกุตระปัญญา จะเข้าถึงได้ก็ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนาสมถกรรมฐาน ซึ่งทั้งโลกีย์ศาสตร์และโลกุตระศาสตร์ต้องควบคู่กัน ตราบใดที่เรายังคงมีชีวิตเวียนว่ายอยู่ในโลกวัฏฏะสงสาร

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นพระครูปลัดสุวัตน์ธีรคุณ

พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นพระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์ ในสมเด็จพระธีรญาณมุนี

พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระสุธีรัตนาภรณ์

พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชรัตนาภรณ์

พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น พระอุปฌาย์วิสามัญ

พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระเทพประสิทธิ์มนต์

พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมวชิรญาณ

พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นรองสมเด็จที่พระพรหมวชิรญาณ

พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับพระราชทานหิรัญบัฎ เป็นเจ้าอาวาสวัดยานนาวา

ตำแหน่งและการทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ

พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม

พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นกรรมการฝ่ายปกครองของมหาเถรสมาคม

พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นกรรมการเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิและการจัดประโยชน์ที่ดินวัดร้างและศาสนสมบัติกลาง

พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นประธานโครงการปฏิบัติธรรมวัดยานนาวา นำคณะสงฆ์ และภิกษุสามเณรนวกะ โครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาส ๑๒ สิงหามหาราชินี และ ๕ ธันวาคมหาราช พร้อมกับเปิดให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน เจ้ารับการอบรมปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด (ดำเนินการมาถึงปัจจุบัน)

พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมวัดยานนาวา โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประกาศให้วัดยานนาวา เป็นสำนักปฏิบัติธรรม ประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ ๑